ประวัติส่วนตัว

นางสาว สาวิณี สุขแก้ว เลขที่ 46
หนังสือ เปลี่ยนมุมความคิดด้วยจิตวิทยาภาคพิสดาร
กลุ่มเรียน วันพุธเช้า

Sunday, October 11, 2015

วิธีการ1จาก4: จับโกหกจากใบหน้าและสายตา

จับโกหกจากใบหน้าและสายตา


22309 1 1
1
สังเกตการแสดงออกเล็กๆ . การแสดงออกเล็กน้อยพวกนี้เป็นการแสดงออกทางสีหน้าที่จะแว่บขึ้นมาเพียงเสี้ยววินาที และจะเป็นตัวเปิดเผยอารมณ์ที่แท้จริงของคนคนนั้นภายใต้คำโกหก บางคนอาจจะจับสังเกตได้ไวโดยธรรมชาติ แต่ใครๆ ก็สามารถฝึกการสังเกตการแสดงออกเหล่านี้ได้
  • ปกติแล้ว คนโกหกจะมีการแสดงออกเล็กๆ ที่สื่อถึงความกังวล ดูได้จากคิ้วที่ขมวดและโก่งเข้าหากัน ทำให้เกิดรอยย่นสั้นๆ บนหน้าผาก


22309 2 1
2
สังเกตการแตะจมูกและการป้องปาก. คนมักจะแตะจมูกบ่อยขึ้นถ้าโกหก และจะทำเช่นนั้นน้อยลงมากเมื่อพูดจริง นี่อาจเป็นเพราะการหลั่งอะดรีนาลีนในเส้นเลือดฝอยของจมูก ทำให้คันจมูก  คนโกหกยังชอบป้องปากด้วยมือ หรือเอามือไปไว้ใกล้ปากอีกด้วย คล้ายกับจะกันคำโกหกที่ออกมา สังเกตว่าถ้าเขาเกร็งหรือเม้มปาก อาจเป็นสัญญาณของความกังวลได้



22309 3
3

สังเกตการเคลื่อนไหวของตา. คุณมักจะบอกได้ว่าคนคนหนึ่งกำลังนึกหรือกุเรื่องอะไรขึ้นมาเมื่อดูจากการเคลื่อนไหวของดวงตา เมื่อคนกำลังนึกรายละเอียด นัยน์ตาของเขาจะเหลือบขึ้นบน และไปทางซ้าย หากเขาถนัดขวา คนถัดขวาเวลากุเรื่องจะเหลือบมองไปทางซ้าย ในทางกลับกันคนถนัดซ้ายเวลาโกหกจะเหลือบไปทางขวา คนเรามักจะกระพริบตาเร็วขึ้นด้วยถ้ากำลังโกหก วิธีการสังเกตตาคนโกหกอีกทางคือ พวกเขามักจะขยี้ตา อาการนี้พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[1]
  • สังเกตเปลือกตา เปลือกตาจะปิดลงนานกว่าการกระพริบตาปกติ ถ้าคนเราได้ยินหรือได้เห็นอะไรที่ไม่ถูกใจ  อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงข้อนี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยมาก ดังนั้น หากจะเปรียบเทียบให้แม่นยำ คุณจะต้องรู้ว่าปกติแล้วฝ่ายตรงข้ามกระพริบตาอย่างไรในสถานการณ์ที่ไม่กดดัน ถ้าใครดึงมือหรือนิ้วเข้าหาดวงตา อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของการพยายาม “ปกปิด” ความจริงเช่นกัน 
  • ต้องระวังการใช้วิธีมองตาเพียงอย่างเดียวในการประเมินคนพูดจริงหรือโกหกด้วย การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ได้ตั้งข้อสงสัยว่า การมองไปยังทิศทางหนึ่งสามารถบอกว่าใครโกหกได้จริงหรือ นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าการใช้ทิศทางการมองเป็นตัวตัดสินที่ไม่น่าเชื่อถือนัก ถ้าดูตามสถิติ


22309 4
4
อย่าใช้การมองตาหรือการหลบตาเป็นเครื่องตัดสินเพียงอย่างเดียว. ตรงข้ามกับสิ่งที่คนมักจะเชื่อกัน จริงๆ แล้วคนโกหกไม่ได้หลบตาเสมอไป  ตามปกติแล้วสิ่งมีชีวิตอาจเบี่ยงสายตาไปมองสิ่งที่อยู่นิ่งเพื่อช่วยให้มีสมาธิและทวนความจำ ในขณะที่คนโกหกอาจจงใจมองตาตรงๆ ได้เพื่อทำให้ดูจริงใจมากขึ้น การมองตาระหว่างโกหกสามารถฝึกกันได้ เพื่อที่จะเอาชนะความกระวนกระวายใจ และ “พิสูจน์” ว่าตัวเองกำลังพูดความจริงอยู่
  • อันที่จริงแล้ว มีคนพิสูจน์ว่าคนโกหกมีแนวโน้มที่จะมองตา “เพิ่มมากขึ้น” เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อที่มีมานานว่าการมองหรือไม่มองตาสามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกได้  ดังนั้นจึงสรุปได้แน่ชัดว่า การสังเกตการมองตาเป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ประกอบการสังเกตความกังวลเกี่ยวกับคำถามที่ตอบยากเท่านั้น


ที่มา

No comments:

Post a Comment