ประวัติส่วนตัว

นางสาว สาวิณี สุขแก้ว เลขที่ 46
หนังสือ เปลี่ยนมุมความคิดด้วยจิตวิทยาภาคพิสดาร
กลุ่มเรียน วันพุธเช้า

Sunday, October 11, 2015

วิธีการ3จาก4: จับโกหกผ่านเสียงโต้ตอบ

จับโกหกผ่านเสียงโต้ตอบ



22309 13 1
1
สังเกตเสียง. เสียงของคนเราสามารถเป็นตัวบ่งบอกการโกหกที่ดีได้ คนเราอาจจะพูดเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าปกติในทันที เป็นไปได้ว่าความเครียดอาจทำให้เสียงสูงขึ้น หรือสั่น การพูดตะกุกตะกักหรือติดอ่างก็อาจบ่งชี้ถึงการโกหกได้ 




22309 14
2
สังเกตรายละเอียดที่มากเกิน. ลองดูว่าถ้าคนคนหนึ่งบอกอะไรกับคุณเยอะเกินไปรึเปล่า ตัวอย่างที่เป็นไปได้ เช่น “แม่ฉันน่ะอยู่ในฝรั่งเศสนะเธอ แหม หอไอเฟลนี่สวยเนอะ ใครจะไม่ชอบ ที่นั่นนะสะอาดมากเลย” การให้รายละเอียดมากเกินอาจแสดงถึงความพยายามอย่างยิ่งยวดในการชวนให้คุณเชื่อในสิ่งที่เขาพูด




22309 15 1
3
สังเกตการโต้ตอบด้วยอารมณ์แบบฉับพลัน. จังหวะจะโคนและระยะเวลามักจะแปลกๆ ไปถ้าคนกำลังโกหก ถ้าไม่เป็นเพราะผู้ต้องสงสัยได้ฝึกซ้อมตอบ (หรืออาจคาดเดาไว้ว่าจะต้องถูกสอบสวน) ก็เป็นเพราะเขาร่ายยาวไปเรื่อย เพื่อพูดอะไรก็ได้ไม่ให้เกิดความเงียบ
  • ถ้าคุณถามไปแล้วฝ่ายตรงข้ามตอบกลับมาทันทีทันใด เป็นไปได้ว่าเขากำลังโกหกอยู่ เพราะคนโกหกอาจได้ซ้อมบทพูดมาก่อน หรือคิดคำตอบเผื่อเอาตัวรอดไว้แล้ว
  • สัญญาณอีกอย่างคือการเก็บงำรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาไว้ เช่นพูดว่า “ฉันไปทำงานตอนตีห้า แล้วพอกลับบ้านตอนห้าโมงเย็น เขาก็ตายแล้ว” นี่เป็นตัวอย่างคำพูดกะล่อน ผู้พูดหลีกเลี่ยงการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนั้นอย่างหน้าตาเฉย



22309 16
4
สังเกตปฏิกิริยาต่อคำถามของคุณให้ดี. คนที่พูดความจริงจะไม่ค่อยรู้สึกว่าจะต้องลุกขึ้นมาโต้ตอบเพื่อปกป้องตัวเองเท่าไหร่ ก็นะ เพราะเขาพูดความจริง แต่กับคนที่ไม่พูดจริง เขาจะรู้สึกว่าต้องชดเชยที่โกหก บางทีก็ด้วยการก้าวร้าว เปลี่ยนเรื่อง หรือถ่วงเวลา
  • คนที่พูดความจริงมักจะให้รายละเอียดตอนตอบมากกว่าเพื่อไขข้องสงสัยในเรื่องที่ตนเองกำลังเล่า ในขณะที่คนโกหกที่ไม่พร้อมจะเปิดเผยนักก็จะพูดวนไปวนมาในสิ่งที่เคยบอกไปแล้ว 
  • คอยฟังการตอบล่าช้าเล็กๆ น้อยๆ คำตอบที่จริงใจมักออกมาจากความจำโดยเร็ว ผู้ที่โกหกจำต้องคิดทบทวนเร็วๆ ในใจว่าเคยพูดอะไรไปแล้วบ้าง จะได้หลีกเลี่ยงความไม่คงเส้นคงวา และเพื่อกุเรื่องใหม่ๆ ขึ้น ควรระวังว่าหากคนเหลือมองด้านบนเพื่อที่ทวนความจำ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะกำลังโกหกอยู่เสมอไป แต่อาจเป็นแค่สัญชาตญาณโดยธรรมชาติก็ได้




22309 17 1
5
สังเกตการเลือกใช้คำ. การแสดงออกผ่านคำพูดจะบอกใบ้ว่าคนคนหนึ่งกำลังโกหกหรือไม่ คำใบ้บอกสัญญาณโกหกเหล่านี้ประกอบด้วย:
  • ซ้ำคำพูดเดิมๆ ของตัวเองตอนตอบคำถาม.
  • ใช้กลวิธีถ่วงเวลา เช่น ขอให้ทวนคำถามใหม่อีกรอบ  กลวิธีถ่วงเวลาแบบอื่นรวมไปถึง การชื่นชมคำถาม บอกว่าคำตอบไม่สามารถเป็นคำตอบขาว-ดำ ใช่-ไม่ใช่ หรือตอบกลับแบบตาต่อตาว่า “ก็ขึ้นอยู่กับว่า ก. หมายถึงอะไร” หรือ “ไม่รู้ว่าเธอไปเอาข้อมูลนี้มาจากไหนกัน” [4]
  • หลีกเลี่ยงการย่อคำ เช่นการพูดเน้นว่า “ฉันไม่ได้ทำ” แทนที่จะพูดเพียงว่า “เปล่า” หรือ “ไม่” คนโกหกมักจะพยายามที่จะทำให้คำพูดชัดเจนร้อยเปอร์เซ็นต์ 
  • พูดงงๆ ฟังไม่รู้เรื่อง คนโกหกมักจะหยุดพูดกลางคัน เริ่มพูดใหม่ แล้วจบประโยคไม่ได้ 
  • ใช้มุกตลก และ/หรือ คำประชดประชันเพื่อหลีกเลี่ยงหัวข้อสนทนา
  • ใช้คำพูดทำนองว่า “ถ้าว่ากันตามตรง” “พูดตรงๆ นะ” “ให้พูดจริงๆ แบบไม่มีอะไรผิดบังเลยนะ” “ฉันถูกเลี้ยงดูปลูกฝังให้ไม่โกหก” ฯลฯ อาจเป็นสัญญาณบอกการหลอกลวง
  • ตอบด้วยคำปฏิเสธหรือคำยืนยันที่เร็วเกินไป เช่นถูกถามว่า “นี่คุณไม่ได้ตั้งใจล้างหม้อให้สะอาดใช่ไหม” แล้วตอบว่า “ไม่ ฉันไม่ได้ล้างหม้อแบบส่งๆ นะ” เพื่อพยายามเลี่ยงให้ไม่ดูเหมือนกับตอบช้าไป 




22309 18
6
สังเกตเวลาคนพูดย้ำประโยคเดิม. ถ้าคนที่คุณสงสัยใช้คำเดิมพูดซ้ำไปมา นั่นอาจจะเป็นการโกหก เพราะเขามักจะจำประโยคหรือคำพูดที่ฟังดูน่าเชื่อถือ พอถูกถามให้อธิบายใหม่อีกครั้ง คนโกหกเลยมักจะใช้ประโยคที่ดู “น่าเชื่อถือ” นั้นซ้ำอีกครั้ง





22309 19
7
สังเกตการข้ามประโยคทั้งที่ยังพูดไม่จบ. คนโกหกหัวใสมักข้ามไปพูดประโยคอื่นทั้งที่ยังพูดไม่จบ พยายามจะเบนความสนใจให้ไม่เกี่ยวกับตนเอง ด้วยการขัดจังหวะที่สิ่งตัวเองพูดอยู่ไปพูดอย่างอื่นแทน บางคนอาจเปลี่ยนเรื่องโดยใช้วิธีเนียนๆ เช่น “ฉันนะกำลังจะ... เออนี่ เธอไปตัดผมทรงใหม่เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาใช่รึเปล่า”
  • ระวังคำชมจากฝ่ายตรงข้ามให้มาก คนโกหกรู้ว่าคนฟังบ้ายอ และอาจใช้คำชมเป็นทางออกจากการโดนซักไซ้ ให้ระวังคำชมที่อยู่ดีๆ ก็โผล่ขึ้นมา

ที่มา


No comments:

Post a Comment